งานกาชาด เชิญแวะร้านกาชาดจุฬาฯ ที่สวนลุมพินี บริเวณโซน A ใกล้กับกองอำนวยการร่วม แนวคิดในการออกแบบร้านกาชาดจุฬาฯ ปีนี้เพื่อร่วมเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 100 ปีแห่งการจัดงานกาชาด ผ่านสถาปัตยกรรมรูปแบบอาร์ต เดโค (Art Deco) อันงดงามทันสมัย ชวนให้ย้อนรำลึกถึงความสุข ความรื่นรมย์ และความงดงามของการให้ อาคารหลักเป็นศาลาโถงแปดเหลี่ยม ในรูปแบบของศาลาในอุทยานสถานขนาดใหญ่ ปกคลุมด้วยหลังคาโดมแปดเหลี่ยมที่ประดับลวดลายดอกใบจามจุรีประยุกต์ เช่นเดียวกับลวดลายไม้ฉลุตกแต่งตอนล่าง ฉายไฟให้เกิดมิติของร่มเงาต้นจามจุรีที่สื่อความหมายถึงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและพื้นที่สวนลุมพินี งานกาชาด 2566 กรุงเทพ โดยผูกลายเป็นเรขาคณิตตามแบบอย่างศิลปะอาร์ต เดโค กลางศาลาเป็นเวทีการแสดง 8 ธันวาคม 2566 / สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงานวันกาชาด 100 ปี พุทธศักราช 2566 “รื่นรมย์สุขฤดี ณ ที่แห่งการให้” ณ พลับพลาพิธี หน้าห้องสมุดประชาชน สวนลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร โดยนายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งเลขาธิการสภากาชาดไทย ประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักงานจัดหารายได้ รองประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ และหัวหน้าส่วนราชการ เฝ้าฯ รับเสด็จ
งานกาชาด นิทรรศการ “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับการออกร้านกาชาดจุฬาฯ”
งานกาชาด ชมเรื่องราวย้อนบรรยากาศจุฬาฯ ร่วมงานกาชาดในแต่ละทศวรรษ ได้แก่ ปฐมบท เผยแพร่วิชาการ (พ.ศ. 2510-2520) – สนุกสนานเพลินบทเพลง (พ.ศ.2521- 2530) ครื้นเครงเล่นสอยดาว (พ.ศ.2531 – 2540) แพรวพราวนาฏศิลป์และสลาก (พ.ศ.2541 – 2550) หลากความสุข เร่งบรรเทาทุกข์ประชา…จวบปัจจุบัน (พ.ศ.2551 – 2566) ด้านหน้าศาลาโถงตั้งแท่นประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมประติมากรรมรูปพระเกี้ยวสีทองขนาดใหญ่ งานกาชาด 2567 อีกมุมหนึ่งตั้งบ่อน้ำพุประดับไฟสี การตกแต่งใช้สีเขียวเป็นพื้นหลังให้สอดคล้องกับความเป็นสวน สถาปัตยกรรมและเครื่องตกแต่งใช้สีชมพูซึ่งเป็นสีประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สอดประสานกับสีแดงและขาวซึ่งเป็นสีของสภากาชาดไทย สะท้อนถึงความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันระหว่างองค์กรที่มีสืบเนื่องมาตลอดระยะเวลา 1 ศตวรรษ ทั้งนี้ร้านกาชาดจุฬาฯ ออกแบบตามหลักอารยสถาปัตย์ มีความมั่นคงแข็งแรง โดยเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รูปทรงศาลาสามารถระบายอากาศได้ดี สร้างสภาวะน่าสบายและสุขอนามัยที่ดี โดยคำนึงถึงการประหยัดพลังงาน
รองผู้อำนวยการสำนักงานจัดหารายได้
(กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการจัดงานกาชาด) เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้า ฯ ถวายสูจิบัตร และหนังสือย้อนรอย 100 ปี งานวันกาชาด ประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดงานกาชาด กราบบังคมทูลรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงานฯ จากนั้นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ กราบบังคมทูลเบิกผู้ชนะการประกวดร้านวันกาชาด 100 ปี เข้ารับพระราชทานเกียรติบัตร 14 ราย, ผู้ชนะการประกวดผู้สูงวัยสุขภาพดี 8 ราย, ผู้ให้การสนับสนุนการจัดงานกาชาด 20 ราย หน่วยงานที่ร่วมออกร้านกาชาด และผู้มีจิตศรัทธา เข้าเฝ้า ฯ ทูลเกล้า ฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลบำรุงสภากาชาดไทย สมทบงานวันกาชาด 100 ปี พุทธศักราช 2566 จำนวน 100 ราย ทรงทอดพระเนตรการแสดงแหล่เพลงวันการงานกาชาด 100 ปี ประกอบศิลปะการวาดเม็ดทรายและกระบวนแห่ชุด ย้อนวันวาน 100 ปี งานวันกาชาด ต่อจากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปแท่นทรงกดปุ่มไฟฟ้าเปิดแพรคลุมป้าย “งานวันกาชาด 100 ปี พุทธศักราช 2566” จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปยังลานสวนปาล์ม ศาลาภิรมย์ภักดี ทอดพระเนตรหนังสือยักษ์ย้อนรอย 100 ปี งานวันกาชาด (ขนาดใหญ่) และนิทรรศการวันงานกาชาดฯ ทรงสอยผลต้นกัลปพฤกษ์ เสร็จแล้วเสด็จฯ ไปทอดพระเนตรแผนกแสดงกิจกรรมสภากาชาดไทย กิจกรรมต่าง ๆ ทรงเยี่ยมร้านค้าต่าง ๆ อาทิ ร้านองค์สภานายิกาสภากาชาดไทย ร้านสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ร้านมูลนิธิชัยพัฒนาและโครงการทหารพันธุ์ดี ร้านสมเด็จองค์อุปนายิกาสภากาชาดไทย ทอดพระเนตรการประมูลผักดองวังสระปทุม
ทรงพระราชทานผักดองให้ผู้ชนะการประมูล
แล้วจึงเสด็จฯ ประทับรถกอล์ฟ ทอดพระเนตรร้านค้าโซนต่าง ๆ ได้แก่ ร้านโครงการส่วนพระองค์ หน่วยงานด้านความมั่นคง รักษาความปลอดภัย และสมาคมแม่บ้าน ส่วนราชการ สถาบันการศึกษา เป็นต้น ทรงรับของที่ระลึกจากผู้ทูลเกล้าฯ ถวาย โดยนายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ทูลเกล้า ฯ ถวายมาลัยข้อพระกร จากนั้นจึงเสด็จพระราชดำเนินกลับ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สพฐ. นำนักเรียนจากโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนนทบุรี สาธิตการแกะกระจก โรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต โชว์ดนตรีโฟล์คซอง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 45 จ.กาญจนบุรี และศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดปทุมธานี โชว์ผลงานศิลปะของนักเรียน นอกจากนั้นยังมีการฝึกสอนอาชีพฟรีพร้อมให้นำผลงานกลับบ้านได้เลย โดยศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขตมีนบุรี บางแค พระนคร อาทิ การร้อยมาลัยจากกระดาษทิชชู การทำไข่เค็ม ขนมไทย เป็นต้น โดยทุกวันจะมีศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้จากเขตต่าง ๆ สับเปลี่ยนหมุนเวียนมาฝึกอาชีพให้ประชาชนที่เข้าร่วมงานทุกวันไม่ซ้ำกัน ปลัด ศธ. กล่าวว่า ในนามของชาวกระทรวงศึกษาธิการ ปีนี้เป็นครั้งแรกที่กระทรวงศึกษาธิการมีโอกาสเข้าร่วมจัดนิทรรศในการงานกาชาดอันทรงเกียรติ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการโดยความร่วมมือจากทุกหน่วยงานในสังกัด จะคัดเลือกผลงานนักเรียน สินค้า การสาธิตอาชีพ ความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์มาถ่ายทอดให้ประชาชนทุกวันอย่างเต็มที่ ตั้งแต่ 8-18 ธันวาคม 2566 จึงขอเชิญชวนประชาชนที่มาเที่ยวงานกาชาดปีนี้ แวะเยี่ยมชม ให้กำลังใจ อุดหนุนผลิตภัณฑ์ที่น้อง ๆ นักเรียนตั้งใจนำมาจัดแสดงและจำหน่าย เพื่อเป็นกำลังใจให้เยาวชนไทย และวงการศึกษาไทยต่อไป